วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงาน


1.       หลักการนำเสนอผลงาน
            ในหน่วยการเรียนรู้ก่อนๆ  ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานรูปแบบต่าง ๆ มาบ้างแล้ว การสร้างผลงานที่ดีนั้นต้องอาศัยความรู้และทักษะตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการสะสมประสบการณ์จากการที่ได้พบเห็นตัวอย่างและเรียนรู้จากตัวอย่าง
            ในหน่วยการเรียนรู้นี้ จะกล่าวถึงการนำเสนอผลงานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่หาได้ทั่วไป การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์คือ
                        1. ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
                        2. ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
            กานำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนศึกษานั้น มีเหตุผลเบื้องลึกคือ หลักจิตวิทยการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่า การรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่างคือ ทั้งตาและหูพร้อมกันนั้น ทำให้เกิดการรับรู้ที่ดีกว่า รวมทั้งเกิดความสามารถในการจดจำได้มากกว่าการรับรู้โดยผ่านตาหรือหูอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการพัฒนาสื่อโสตทัศนศึกษารูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งาน

            หลักการขั้นพื้นฐานของการนำเสนอผลงานมีจุดเน้นสำคัญคือ
            1.1 การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจเมื่อมอง ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สีและ ขนาดของตัวอักษร
รูปประกอบ ฯลฯ ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้
            1.2  ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมผัสอย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบมีประโยชน์มากดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า “A picture is worth a  words” หรือ “ภาพภาพหนึ่งที่มีค่าเทียบเท่าคำพูดหนึ่งพันคำ” แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นความจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถามให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไร และภาพที่จะเลือกมานั้นสามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
                     1.3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มหมายเป็นเด็กการใช้สีสด ๆ และภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รูปการ์ตูน อาจจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป

2. เครื่องมือที่ใช้ในการนำเนอผลงาน
            ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ การนำเสนอผลงานในที่ประชุมสัมมนามักจะใช้เครื่องมือสองอย่างคือ เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector)  และเครื่องฉายแผ่นใส(Overheard projector) การใช้งานเครื่องฉายสไลด์ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องใช้กล้องถ่ายรูปใส่ฟิล์มพิเศษที่ล้างออกมาแล้วเป็นภาพสำหรับฉายโดยเฉพาะ และต้องนำฟิล์มนั้นมาตัดใส่กรอบพิเศษจึงจะนำมาเข้าเครื่องฉายได้ ข้อดีของการฉายสไลด์คือได้ภาพที่สวยงามและชัดเจนแต่ข้อเสียคือต้องฉายในห้องที่มืดมาก เครื่องฉายแผ่นใสเป็นเครื่องที่ใช้งานทั่วไปได้มากกว่า แผ่นใสที่ใช้ตามปกติมีขนาดประมาณ 8 นิ้วคูณ 10 นิ้ว มีสองแบบคือแบบใช้ปากกา(พิเศษ)เขียน กับแบบที่ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นใสแบบใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารใช้เขียนได้แต่แบบเขียนใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารไม่ได้เพราะแผ่นใสจะละลายติดเครื่องถ่ายเอกสารทำให้เครื่องเสียเวลาซื้อแผ่นใสจึงต้องใช้ความระมัดระวังดูให้ดีว่าเป็นชนิดที่ตรงกับความต้องการหรือไม่ การฉายแผ่นใสสามารถทำได้ในห้องที่ไม่ต้องมืดมาก
             เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้นำเสนอผลงานก็เปลี่ยนไป เครื่องมือหลัก คือเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ (Data projector) เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ มีขนาดใหญ่ต้องติดตั้งประจำที่ ข้างในมีหลอดภาพ 3 หลอด ทำให้เกิดภาพแต่ละสีฉายผ่านเลนส์ออกมาปรากฏภาพบนหน้าจอ ความคมชัดยังไม่ดีนักและความสว่างของภาพก็ไม่มากพอ ทำให้ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด เครื่องฉายรุ่นใหม่ได้แก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้ได้หมดแล้ว โดยใช้แผ่นผลึกเหลว (Liquid Crystal Display หรือ LCD) เป็นตัวสร้างภาพ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงมาจนสามารถพกพาได้ อีกทั้งความสว่างและความคมชัดก็ดีขึ้นมากจนสามารถฉายในห้องที่มีแสงสว่างปานกลางได้











ภาพที่ 8.1 เครื่องฉายสไลด์

                                                                                                                      ภาพที่ 8.2 เครื่องฉายแผ่นใส




 






ส่วนที่จะขาดเสียมิได้ในการนำเสนอผลงานคือ คำบรรยายหรือบทพากย์  ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง ข้อพิจารณา ในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้
            1. การบรรยายสด  เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด
            2. การพากย์  เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟังน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรีหรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสียคือไม่มีความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น (เช่นดนตรีแบ็กราวด์ช้า ๆ เย็นๆ อาจเหมาะกับท้องเรื่อง แต่บังเอิญต้องนำเสนอช่วงหลังอาหารกลางวัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมรู้สึกง่วงนอน)

3. รูปแบบการนำเสนอผลงาน
             ในหัวข้อนี้ จะกล่าวถึงรูปแบบการนำเสนอผลงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ รูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ
            3.1 การนำเสนอแบบ Slide Presentation
                     3.1.1 โดยใช้โปรแกรม Power Point
             เป็นโปรแกรมนำเสนอผลผลงานในชุด Microsoft Office เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายมากมีแม่แบบ (Template) ให้เลือกใช้หลายแบบ องค์ประกอบหลักของแต่ละหน้าของการนำเสนอคือ หัวข้อ (Little) กับส่วนเนื้อหาหลัก (Body text) เนื้อหาหลักมักจะถูกนำเสนอในแบบของ Bull Point คือการใช้เครื่องหมายพิเศษนำหน้าข้อความที่สั้นกระทัดรัด แต่ได้ใจความมีการจัดลำดับความสำคัญของข้อความโดยการย่อหน้า
            
ภาพที่ 8.4 โปรแกรมนำเสนอผลงาน (power Point) จัดลำดับความสำคัญของข้อความ โดยการย่อหน้า


ภาพที่ 8.7  รูปแบบการติดตั้งโปรแกรม Proshow Gold


การใช้งาน โปรแกรม ProShow Gold มีขั้นตอนดังนี้
1. เริ่มที่ Main Menu เป็นตัวเมนูหลักสําหรับควบคุมและทํางานของโปรแกรม
2. การเข้าสู่โปรแกรมเราสามารถ คลิกที่ Icon บน Desktop เพื่อเข้าใช้งานโปรแกรมได้
3. หน้าจอจะแสดงการเข้าสู่โปรแกรม
เมื่อเข้าสู่โปรแกรมครั้งแรกโปรแกรมจะให้ใส่ Activate Registration จากนั้นเราก็กดที่ปุ่ม Activate Registration

ภาพที่ 8.8 การเข้าสู่โปรแกรมครั้งแรก

การแทรกภาพในชิ้นงาน ProShow Gold มีขั้นตอนดังนี้
              1.    สามารถเลือกที่อยู่ของไฟล์ต่างๆที่จะนำมาใช้ในชิ้นงานของได้โดยไปที่ Folders List ด้านซ้ายมือเพื่อเลือกตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์งาน
              2.   เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วให้เลือกข้อมูลที่ต้องการโดยลากไฟล์งานเข้ามาไว้ในไลด์บนหน้าจอ 

ภาพที่ 8.9 ไฟล์งานที่เข้ามาไว้ไลด์บนหน้าจอ

              3.  เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้ว การใส่ข้อความในสไลด์ ซึ่งจะได้ข้อความตามที่ต้องการ ในครั้งนี้สามารถ ใส่เสียง, ใส่ Effects ในรูปแบบที่ต้องการ




ภาพที่ 8.10 แสดง Effects ต่างๆของโปรแกรม ProShow Gold

สุดท้าย ในการเปลี่ยนเวลาในสไลด์ แต่ละช่วงเวลาที่ต้องการ สามารถแก้ไขได้ รวมถึงการเขียนชิ้นงานลงแผ่นซีดี ได้เลย ซึ่งสามารถนำเสนอในรูปแบบของ vcd ได้สมบูรณ์ในการทำงาน

ภาพที่ 8.11 แสดงการเขียนชิ้นงานลงแผ่น CD




ภาพที่ 8.15 แสดงการตกแต่งหนังสือ โดยใช้เมนู Set Book Option

3.2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)   Computer Assisted  Instruction
            CAI คือ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีหน้าที่เป็นสื่อการเรียนการสอนเหมือนแผ่นใส (Transparent) สไลด์ (Slide) หรือวีดีทัศน์ (Video) ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายในเวลาอันจำกัด และตรงตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนนั้น ๆ แต่เนื่องจากโปรแกรมเรียนคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ได้ครบทุกสื่อในเวลาเดียวและควบคุมการนำเสนอได้ด้วยตัวเอง เรียกว่าสื่ออเนกทัศน์หรือมัลติมีเดีย” (Multimedia) ทำให้ประหยัดและมีประสิทธิภาพสรุปได้ว่า CAI คือ
            - เป็นสื่อการเรียนการสอน ช่วยผู้สอนทำการสอน
            - เนื้อหาในโปรแกรมจะเป็นหน่วย ๆ ตามบทเรียนนั้น ๆ
            - ผู้เรียนสามารถนำไปทบทวนเนื้อหา ศึกษาด้วยตนเอง
            - ผู้สอนผู้สอน หรือผู้มีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ จะทำได้ดีที่สุด
           
            การจัดทำ CAI ที่ดีนั้น ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. นักวิชาการ (Academic Expert)
2. นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer)
3. นักสร้างสรรค์ (Producer)
4. นักศิลปะ (Artist)
ฉะนั้น CAI ก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้สอนสอน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำหน้าที่แทนผู้สอนได้ทั้งหมด โดยที่ผู้สอนไม่ต้องทำอะไรเลย ผู้สอนยังจำเป็นที่ต้องคอยแนะนำและเตรียมเนื้อหา เพี่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในเนื้อหานั้น ๆ ในเวลาจำกัด จึงกล่าวได้ว่าผู้สอนผู้สอนจะเป็นผู้ที่ทำ CAI ได้ดีที่สุด
            คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted  Instruction  หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้โดยจัดเนื้อหาสาระหรือประสบการณ์สำหรับให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  อาจจัดเป็นลักษณะบทเรียนหน่วยการเรียนหรือโปรแกรมการเรียน ฯลฯ
ประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนรู้
1.             ใช้เพื่อจัดการในชั้นเรียน (Classroom Management) เช่น
-            เก็บข้อมูลสถิติรวมทั้งระเบียนสะสมของผู้เรียนเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล
-            ใช้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
-            เตรียมงานด้านการสอน เช่น  ใบความรู้   ใบงาน   ข้อทดสอบ ฯลฯ
-            สร้างเครือข่ายฐานข้อมูลผู้เรียน เช่น แฟ้มสะสมงานผู้เรียน (Electronic portfolio)ฯลฯ
2.             ใช้ในการจัดการเรียนการสอน (Instruction) เช่น
            การนำเสนอผลงาน (Presentation)ของผู้สอน
-            ในลักษณะสื่อประสม (Multimedia) เพื่อให้เกิดความตื่นเต้นเร้าความสนใจ  เช่น  เสียงเพลง  ภาพเคลื่อนไหวในวีดีโอ  กราฟสถิติ รูปภาพ/ภาพถ่าย ฯลฯ
-            ในลักษณะการจำลองสถานการณ์หรือการจำลองแบบ  (Simulation) ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย เช่น ผลกระทบในการลดลงของความหลากหลายทาง  ชีวภาพ  การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก การระเบิดของภูเขาไฟ  แนวโน้มการศึกษาต่อของผู้เรียน ฯลฯ
                        การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)
                        โดยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อหรือช่องทางในการนำเสนอเนื้อหาซึ่งอาจเป็นกิจกรรมในรูปแบบต่างๆโดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาด้วยตัวเอง  ตามความพร้อมและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก  การพิจารณาว่าสื่อการสอนที่สร้างมาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หรือไม่นั้นมีการพิจารณาดังนี้
1.            ต้องมีเนื้อหาสาระ  มีการเรียบเรียงเป็นอย่างดี
2.            ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.            สามารถตอบโต้หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้เรียน
4.            สามารถให้ป้อนกลับได้ทันที
                        ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มีอยู่มากมายหลายรูปแบบ  เช่น  โปรแกรมการนำเสนอเนื้อหาใหม่   โปรแกรมฝึกหัด   โปรแกรมจำลองสถานการณ์   เกม  และโปรแกรมการฝึกทักษะการแก่ปัญหา  เกม  การสาธิต   การทดสอบ   เป็นต้น

            ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI) สามารถสรุปได้เป็นแผนภูมิได้ดังนี้

การสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
            แฮนนิฟิลและเพค  (Hannafin  and   Peck)  อ้างถึงใน  บุญเกื้อ  ควรหาเวช  (2543  :  71  -  74)  ได้ให้ข้อคำนึงในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและลักษณะของการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีไว้  12  ประการ  ดังนี้
1.     สร้างขึ้นตามจุดประสงของการสอนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนได้จากบทเรียนนั้น   ได้มีความรู้และทักษะตลอดจนทัศนคติของผู้สอนได้ตั้งไว้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินผลด้วยตนเองว่าบรรลุจุดประสงค์ในแต่ละข้อหรือไม
2.     บทเรียนที่ดีควรเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน  การสร้างบทเรียนจะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานอยู่ในระดับใด  ไม่ควรที่จะยากหรือง่ายจนเกินไป
3.     บทเรียนที่ดีควรปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุดการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรมีประสิทธิภาพมากกว่าเรียนจากหนังสือเพราะสามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้ 2 ทาง
4.     บทเรียนที่ดีควรจะมีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล   ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเรียนหัวข้อที่ตนเองมีความสนใจและต้องการที่จะเรียนและสามารถที่จะข้ามบทเรียนที่ตนเองเข้าใจแล้วได้  แต่ถ้าบทเรียนที่ตนเองยังไม่เข้าใจก็สามารถเรียนซ้อมเสริมจากข้อแนะนำของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้
5.     บทเรียนที่ดีควรคำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน  ควรมีลักษณะเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา   เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนอยู่เสมอ
6.     บทเรียนที่ดีควรสร้างความรู้สึกในทางบวกของผู้เรียนควรทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน   เกิดกำลังใจและควรที่จะหลีกเลี่ยงการลงโทษ
7.     ควรจัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงย้อนกลับในทางบวก  ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้เรียนชอบและไม่เบื่อหน่าย
8.     บทเรียนที่ดีควรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนบทเรียนควรปรับเปลี่ยนให้ง่ายต่อกลุ่มผู้เรียน   เหมาะกับการจัดตารางเวลาเรียน   สถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสมควรคำนึงถึงการใส่เสียง   ระดับเสียงหรือดนตรีประกอบควรให้เป็นที่ดึงดูดใจผู้เรียนด้วย
9.     บทเรียนที่ดีควรมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม  ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่ง่ายตรงเกินไป   หรือไร้ความหมาย   การเฉลยคำตอบควรให้แจ่มแจ้งไม่คลุมเครือและไม่ควรเกิดความสับสน
10.        บทเรียนควรใช้กับคอมพิวเตอร์ที่จะเป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียนอย่างชาญฉลาดไม่ควรเสนอบทเรียนในรูปอักษรอย่างเดียวหรือเรื่องราวที่พิมพ์เป็นอักษรโดยตลอดควรใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่   เช่น   การเสนอด้วยภาพ   ภาพเคลื่อนไหว  ผสมตัวอักษรหรือให้มีเสียงหรือแสงเน้นที่สำคัญ   หรือวลีต่างๆ  เพื่อขยายความคิดของผู้เรียนให้กว้างไกลมากขึ้น   ผู้ที่สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรตระหนักในสมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ตลอด   ข้อจำกัดต่างๆ  ของคอมพิวเตอร์ด้วย   เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเสียบางสิ่งบางอย่างของสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ไป  เช่น   ภาพเคลื่อนไหวปรากฏช้าเกินไป   การแบ่งส่วนย่อยๆ  ของโปรแกรมมีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้
11.        บทเรียนที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของการออกแบบการสอนคล้ายๆกับการผลิตสื่อชนิดอื่นๆ การออกแบบทเรียนที่ดีย่อยจะสามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนได้มาก  การออกแบบบทเรียนย่อมประกอบด้วยการตั้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน  การจัดลำดับขั้นต้อนของการสอนการสำรวจทักษะที่จำเป็นต่อผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้    จึงควรจัดลำดับขั้นตอนการสอนให้ดี   มีการวัดผลและการประเมินผลย้อนกลับให้ผู้เรียนได้ทราบ   มีแบบฝึกหัดพอเพียงและให้มีการประเมินผลของขั้นสุดท้าย  เป็นต้น
12.        บทเรียนที่ดีควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม  เช่น  การประเมินคุณภาพของผู้เรียนประสิทธิภาพของผู้เรียน   ความสวยงาม   ความตรงประเด็นและความตรงทัศนคติของผู้เรียน  เป็นต้น

3.2.1 การใช้โปรแกรม Author ware
Author ware เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่นิยมนำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด เพราะเนื่องจากว่า เข้าใจง่าย มีการเขียนโปรแกรมที่ใช้ง่าย


ภาพที่ 8.17 โปรแกรม Author Ware

ทำความรู้จักกับส่วนต่างๆ ของโปรแกรม Authorware 4
            โปรแกรม Authorware  มีส่วนประกอบหลัก ๆอยู่ 5 ส่วนด้วยกันคือ
                        1. แถบชื่อ (Title Bar) จะอยู่บนสุดถ้าเป็นของโปรแกรมจะมีชื่อว่า Authorware แต่ถ้าเป็นโปรแกรมที่ท่านตั้งชื่อแล้ว จะปรากฏในแถบ Title Bar นี้ด้วย
                        2. แถบเมนู (Menu Bar) อยู่รองลงมา จะมีเมนูอยู่บนแถบนี้ 10 เมนูแต่ละตัวจะมีเมนูย่อยเป็นแบบ Pull Down Menu
                        3. แถบไอคอน (Icon Bar) จะเป็นรูปไอคอนต่าง ๆ โดยเอาคำสั่งจากเมนูย่อยของแถบเมนูคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ มาทำเป็นไอคอนเพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน
                        4. ไอคอนพาเลตต์ (Icon Palette) เป็นแถบไอคอนเครื่องมือ (Tools) เรียงตามแนวตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของจอ
                        5. หน้าต่างออกแบบ (Design Window) เป็นหน้าจอว่าง ๆ มีเส้น FLOW LINE 1 เส้นเพื่อเตรียมให้ท่านออกแบบงาน ใช้เมาส์ลากขอบหน้าต่างนี้เข้าออก เป็นการย่อและขยายหน้าต่าง บนแถบหัวของหน้าต่างออกแบบ จะมีชื่อเป็น Untitle-1 ให้ก่อน จนกว่าจะบันทึก (Save) งาน แล้วตั้งชื่อใหม่บนแถบหัวนี้จะเป็นชื่อที่ตั้งไว้


ภาพที่ 8.18 ส่วนต่างๆของโปรแกรม AuthorWare




3.2.2  การใช้ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ Moodle
                        Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment
คือ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน หรือเรียกว่าLMS (Learning Management System) หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน CMS(Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือผู้สอน ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต Moodle สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือผู้สอนสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก http://moodle.org ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas สถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้ จัดระบบการเรียนการสอน
จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ( Admin) ที่ความสามารถในการติดตั้ง โดยที่ต้องมี Web Server ที่บริการภาษา php และ mysql

ภาพที่ 8.19 การติดตั้งโปรแกรม Moodle

3.1.3 โปรแกรม Flip Album
            โปรแกรม Flip Album 6 Pro  เป็นโปรแกรมลักษณะของโปรแกรมสำเร็จรูป โดยโปรแกรมชุด FilpAlbum เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book ซึ่ง อีบุ๊ค” (eBook, EBook, e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book  หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจัดทำขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆ ได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ตามที่ต้องการเหมือนการเล่นอินเทอร์เน็ตทั่วไป เพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และ แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป เราสามารถอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล และสอบถามข้อมูลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ได้จากอินเทอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นแฟ้มข้อมูล ประเภทข้อความ(Text File) ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) ที่ใช้เขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

            ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ
ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนข้อมูลให้ออกมาเป็น E-Book และ ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่านมีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่
            1. โปรแกรมชุด FilpAlbum
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flip Flash Album
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย 
                        1.1 โปรแกรมชุด FlipAlbum ตัวอ่านคือ FilpViewer
                        1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
                        1.3 โปรแกรมชุด Flip Flash Album ตัวอ่านคือ Flash Player

ภาพที่ 8.12  FlipAlbum


ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book
            HTML เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดงานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ แบบเช่น .htm หรือ .html เป็นต้น สาเหตุหลักที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้นมาจากบราวเซอร์สำหรับเข้าชมเว็บต่าง ๆ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Communication ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์ HTML ได้ สำหรับไฟล์ XML ก็มีลักษณะเดียวกับไฟล์ HTML นั่นเอง
            PDF Portable หรือ Document Format ถูกพัฒนาโดย Adobe System Inc เพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํานวนมากและรวมถึง อุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้วย
            PML พัฒนาโดย Peanut Press เพื่อใช้สําหรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ สนับสนุนไฟล์ประเภท PML นี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล .PDF ด้วย (หมายเหตุ ข้อมูลจาก www.j-joy.co.th)
            วิธีการที่ใช้กับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ด้วยโปรแกรมในตระกูล Flip Album
                        1. เตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                        2. ทำความรู้จักกับโปรแกรม Flip Album 6 Pro   ผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งตัวโปรแกรม (install) ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือเครื่องพกพาแบบโน๊ตบุ๊ค (Note Book) ก็ได้   ขณะปฏิบัติการงานสร้างนั้น คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่ายก็ได้
                3. การติดตั้งโปรแกรม Flip Album 6 Pro
   4. การเข้าสู่โปรแกรม Flip Album 6 Pro  การเข้าสู่โปรแกรมมีวิธีการหลัก 2 วิธี คือ 1.) เข้าโดย  Dubble Click ที่รูปภาพหนังสือสีแดง  บนหน้า Desktop   หรือ 2.) เข้าโดย Click ที่ปุ่ม  Start/Program/E-Book Sytems/FlipAlbum 6 Pro/FlipAlbum Pro
 5. การสร้างสรรค์งานโปรแกรม Flip Album 6 Pro ซึ่งสามารถมีการเพิ่มหน้าหนังสือแบบอัตโนมัติ


ภาพที่ 8.13 ตัวอย่างคำสั่งการเพิ่มหน้าหนังสือจำนวนหลายๆ หน้า แบบอัตโนมัติ

                6. การนำเข้าข้อมูลจากภาพกราฟิค (Digital Pictures) การนำเข้าข้อความมาจัดพิมพ์ใส่ในหนังสือ รวมถึงการนำเข้าข้อความจาก Microsoft Word และ PowerPoint มาสร้าง e-book


ภาพที่ 8.14 แสดงการนำข้อความจาก PowerPoint มาสร้าง e-Book


             7. การนำไฟล์ PDF มาสร้าง e-book การตกแต่งหนังสือ (Set Book Option) การแทรกภาพนิ่ง (Insert Clip Art) การจัดทำไฟล์วีดิทัศน์ (Video)

ความสามารถของ moodle
1.     เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก
2.     สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหา ของผู้สอน พร้อมบริการให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของผู้เรียน
3.     สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น
4.     มีระบบติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น ผู้เรียนฝากคำถาม ผู้สอนทิ้งคำถามไว้ ผู้สอนนัดสนทนาแบบออนไลน์ ผู้สอนนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน เข้าเรียน ก็ได้
5.     มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบ ให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel
6.     สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle

                        องค์ประกอบของ moodle ที่มหาวิทยาลัยควรมี
1.     มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยผู้สอนและผู้เรียน
2.     มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql
3.     มีผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการเขียนเว็บ
4.     มีผู้สอน ผู้เรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยี ดังนั้น Moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือผู้สอนที่ไม่มีไฟ
5.     มีการเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN)

                        ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle
1.     ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนด สิทธ์การเป็นผู้สอน
2.     ผู้สอน (Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร
3.     ผู้เรียน (Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
4.     ผู้เยี่ยมชม (Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม
            3.3 รูปแบบ Social Network
            Social network หมายถึง สังคมออนไลน์ที่จะช่วยหาเพื่อนบนโลกอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ สามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา และได้ทำความรู้จักกับเพื่อนหรือคนอื่นๆ และยังสามารถแนะนำตัวเองได้เช่น Hi5, Friendster, MySpace, FaceBook, Orkut, Bebo, Blog,Tagged เป็นต้น 
            Social Network  นั่นถือว่า แหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลและความสัมพันธ์บนโลกอินเตอร์เน็ท เป็นการที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง  นั่นคือโลกที่สาม ยุคที่อะไรก็ไม่อาจจะหยุดยั้งไว้ได้

        

               นอกจากข้อความแล้วอาจใช้ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และอาจมีการแต่งแต้มสีสัน ทั้งสีพื้น สีของตัวอักษร และรูปแบบฟอร์มของตัวอักษรได้ด้วย   

ภาพที่ 8.5 การนำเสนอในรูปแบบ Presentation (PowerPoint)




3.1.2 โดยใช้โปรแกรม ProShow Gold
            โปรแกรม Proshow Gold คือ โปรแกรมสำหรับเรียงลำดับภาพเพื่อนำเสนอแบบมัลติมีเดีย ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ในระดับมืออาชีพ ด้วยเทคนิคพิเศษมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะสมต่อการนำเสนอสื่อ การเรียนการสอน การแนะนำอัตชีวประวัติ สามารถเขียนชิ้นงานออกมาในรูปแบบของวีซีดีได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างแผ่นวีซีดีจากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว โดยสามารถทำการใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย และสามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์ต่าง ๆ ได้ เช่น VCD ,DVD หรือ EXE ฯลฯ ภาพที่ได้จัดอยู่ในคุณภาพดี ซึ่งโปรแกรมอื่นจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควร

                        การเตรียมข้อมูลของภาพและเพลงต่าง ๆ ก่อนที่จะเริ่มติดตั้งและใช้งาน
1.     ProShow Gold  เป็นซอฟต์แวร์สําหรับสร้างแผ่น VCD จากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทํางานได้รวดเร็วหลายคนคงจะมีไฟล์รูปภาพต่าง ๆ เก็บสะสมไว้และเมื่อต้องการที่จะนําเอาภาพเหล่านั้นมา แปลงให้อยู่ในรูปแบบของแผ่นVCDที่สามารถนําเอาไปใช้เป็นกับเครื่องเล่นVCDทั่วไปได้ ProShow Gold เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถนําเอาภาพมาทําเป็นแผ่น VCDโดยที่สามารถทําการแปลงได้อย่างรวดเร็วและยังใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย
                        โดยทั่วไปแล้ว ซอฟต์แวร์สําหรับการทําแผ่นVCDจากรูปภาพจะมีหลายตัว แต่ที่แนะนํา ProShow เนื่องจากเหตุผลหลักคือการใช้เวลาทําการแปลงที่รวดเร็วมาก ปกติถ้าเป็นซอฟต์แวร์ตัวอื่นจะใน เวลาหลายชั่วโมง แต่ตัว ProShow นี้ใช้เวลาแปลง ไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จแล้วภาพที่ได้ก็จัดอยู่ใน คุณภาพดี โดยข้อเสียที่พบในตัวโปรแกรมนี้คือค่อนข้างจะมีความยุ่งยาก ในขั้นตอนของการใช้งานบ้างแต่ก็ไม่มากมาย
1.1       การเตรียมข้อมูลของภาพและเพลงต่าง ๆก่อนที่จะเริ่มและใช้งานจะต้องมี คือ ไฟล์รูปภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นไฟล์.jpg ก็ได้และไฟล์ของเพลงที่จะนํามา ใส่ประกอบ ซึ่งจะใช้เพลงแบบMP3ทั่วไปก็ได้ เมื่อเตรียมไฟล์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็เริ่มต้นขั้นตอนการสร้างงาน



ภาพที่ 8.3 เครื่องฉาย Data Projector หรือ LCD Projector

             การนำเสนอในรูปแบบ  Presentation โดยใช้โปรแกรม PowerPoint นี้ สามารถทำให้มีลักษณะของการเชื่อมโยงคล้าย ไฮเปอร์เทกซ์ (Hypertext) ของ Web page ได้ ทั้งนี้ โดยใช้การเชื่อมโยงหลายมิติที่มีอยู่ในชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น